ยาม, รปภ., การ์ด, บอดี้การ์ด คืออะไรกันแน่??

Last updated: 6 Dec 2020  |  34807 Views  | 

ยาม, รปภ., การ์ด, บอดี้การ์ด คืออะไรกันแน่??

ยาม   คำว่ายาม ถูกใช้เรียกแทน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) มาช้านาน แล้ว จริงๆคำว่า ยาม มีความหมาย เกี่ยวกับ เวลา สมัยโบราณ จะมีคน คอยเคาะโลหะ เพื่อบอกเวลายามค่ำคืน และคอยสอดส่อง ดูแลสถานที่ ในยามวิกาล  ส่วนใหญ่จะจ้าง แขกอินเดีย หรือ คนที่ไม่ค่อยมีความรู้ ไม่รู้จะประกอบอาชีพอะไร มาเป็น ยาม  

รปภ.  ย่อมาจาก รักษาความปลอดภัย หรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คำนี้ มาจาก การตั้ง บริษัท จัดหา ยามในปัจจุบัน  โดยมีการฝึกอบรม เช่น ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การสังเกตุบุคคล การเขียนรายงาน การใช้อุปกรณ์ เช่น วิทยุสื่อสาร การฝึกท่าบุคคลมือเปล่า โดยดัดแปลงมาจาก การฝึกทหารเบื้องต้น บางบริษัท ฝึกการดับเพลิง การทำ First Aid และ  CPR  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ มาตราฐานของบริษัทแต่ละบริษัท

เมื่อคนที่ทำหน้าที่ ยาม มีความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยต่างๆ  เสื้อผ้า หน้าผม ก็ถูกกำหนดให้อยู่ในระเบียบวินัยของบริษัท  เราจึงไม่เรียก อาชีพ ตำแหน่งนี้ ว่า ยาม อีกต่อไป และกลุ่มคนเหล่านี้ ก็รู้สึกไม่ชอบเมื่อถูกเรียกว่า ยาม 

 

การ์ด  คำนี้เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ โดยเรียกทับศัพท์ จากภาษาอังกฤษ Guard ซึ่งก็แปลว่า ยาม หรือ ผู้ที่ทำหน้าที่ ดูแล รักษา สิ่งนั้นๆ ให้มีความปลอดภัยนั่นเอง  จะขอกล่าวถึง คำภาษาอังกฤษ ว่า Security Guard และอธิบายให้เข้าใจก่อน

คำว่า  Guard ถ้าพูดแค่นี้ ฝรั่งก็เข้าใจแล้วว่า คนนี้ทำหน้าที่ รักษาความปลอดภัย

คำว่า Security คำนี้เป็นคำนาม แปลว่า ความปลอดภัย ไม่ได้หมายถึงคน แต่คนมาพูดสั้นๆ เรียกสั้นๆ ว่า Security ก็จะเข้าใจว่าคนนี้มีหน้าที่ รักษาความปลอดภัย จริงๆ คำเต็มๆต้องเรียกว่า  Security Guard

กลับมาถึงคำว่า การ์ด  ในเมืองไทย คำนี้ จะใช้เรียก กลุ่มบุคคล ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย ที่มีความสุ่มเสี่ยงอันตราย ค่อนข้างสูง และคุณสมบัติ ของคนกลุ่มนี้ ค่อนข้างสามารถ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี รักษาความปลอดภัยได้ค่อนข้างเด็ดขาด กว่ากลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า รปภ.

 

บอดี้การ์ด   คำนี้ก็มาจากภาษาอังกฤษ Bodyguard (คำนี้ต้องเขียนติดกัน) แปลว่า การอารักขา รักษาความปลอดภัย บุคคลสำคัญ  ซึ่งจะดูแล บุคคลสำคัญอย่างใกล้ชิด ระยะประชิด ไปไหนไปด้วย บางที ก็เรียกตำแหน่งหน้าที่นี้ว่า  Close Protection Officer (CPO) 

บุคคลที่ทำหน้าที่นี้ ก็จะต้องมีความรู้ตามหลักสูตร ที่ รปภ. ฝึกฝน  และจะต้องเรียนรู้ขั้นตอนการอารักขาบุคคลสำคัญ (ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรของทหาร) จะต้องมีการฝึกทักษะ การใช้อาวุธ การต่อสู้มือเปล่า เพิ่มขึ้นมา การเรียนรู้ที่จะใช้ Gadget หรือเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยต่างๆ ในการนำมา เพื่อให้การทำงานรักษาความปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น  รวมทั้งการฝึกฝนร่างกาย ให้แข็งแรง กำยำ เพื่อเป็นที่น่าเกรงขาม และเพิ่มบารมีให้กับ บุคคลสำคัญนั้นๆ

 

เราทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย แต่ใครจะเรียกเราอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราทำงานออกมาแบบไหน ผลงานอย่างไร 

แต่ถ้าต้องการจ้างบอดี้การ์ดมืออาชีพ หรือ อีเว้นท์การ์ด ก็ติดต่อ วี โพรเทคชั่นได้เลยครับ ไม่ผิดหวัง

 

V1


Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy